หัวข้อ   “ 8 ประเด็นปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลใน 2 ปีที่เหลือ
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 นับตั้งแต่ต้นปี 2556 เป็นต้นมาประเด็นเศรษฐกิจถือเป็นประเด็นข่าวที่อยู่ใน
ความสนใจของสาธารณชนซึ่งแต่ละประเด็นปัญหามีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน
เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงของประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้นในระยะ
2 ปีข้างหน้า ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความเห็น นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กร
ชั้นนำ 31 แห่ง จำนวน 63 คน เรื่อง “8 ประเด็นปัญหาเศรษฐกิจกับการบริหาร
เศรษฐกิจของรัฐบาลใน 2 ปีที่เหลือ
” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11 – 18 มิถุนายน
2556 ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 63.5 มองว่าปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น
เป็นปัญหาที่มีความรุนแรงและควรเร่งแก้ไขโดยเร็วเพราะอาจนำไปสู่วิกฤติ
เศรษฐกิจได้
ถัดมาร้อยละ 69.9 และร้อยละ 63.5 ต้องการให้ เฝ้าระวังเป็นพิเศษ
ในปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน และปัญหาหนี้สาธารณะตามลำดับ
 
                 ส่วนปัญหาที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการให้รัฐบาลเฝ้าระวัง มีดังนี้ ปัญหาฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์
(ร้อยละ 96.9)   ปัญหาเศรษฐกิจโลกตกต่ำ (ร้อยละ 93.6)   ปัญหาเงินบาทแข็งค่า (ร้อยละ 90.5) ภาวะเงินเฟ้อ/
ข้าวของแพง (ร้อยละ 82.5)   และปัญหาการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ (ร้อยละ 81.0)
 
                 สำหรับข้อเสนอแนะในการบริหารเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่เหลือของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ มีดังนี้
                 อันดับ 1 ขอให้เลิกและปรับเปลี่ยนการดำเนินโครงการประชานิยมต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรับจำนำข้าว
เช่น การกำหนดวงเงินที่ชัดเจนในแต่ละปีการผลิต และควรเป็นระบบที่อิงกับราคาตลาด มีการจัดทำโซนนิ่งพื้นที่การผลิต
ที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไปพร้อมๆกัน
                 อันดับ 2 เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินในโครงการลงทุนต่างๆ และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ คุ้มค่ากับ
การลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการ Mega projects
                 อันดับ 3 จริงจังกับการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ดำเนินโครงการต่างๆ ด้วยความโปร่งใส สามารถ
ตรวจสอบได้
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. ความรุนแรงของปัญหาทางด้านเศรษฐกิจของไทยในด้านต่างๆ ในระยะ 2 ปีข้างหน้า

ประเด็นปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ
ความรุนแรงของปัญหา
ไม่ตอบ/
ไม่ทราบ
ปกติ
ไม่เป็น
ปัญหา
เผ้าระวัง
เผ้าระวัง
เป็นพิเศษ
เร่งแก้ไข
โดยเร็ว/
อาจนำไปสู่
วิกฤติเศรษฐกิจ
1. ภาวะเงินเฟ้อ/ข้าวของแพง
17.5
47.6
20.6
14.3
0.0
2. เงินบาทแข็งค่า
7.9
52.4
33.3
4.8
1.6
3. หนี้สินภาคครัวเรือน
3.2
23.8
52.4
17.5
3.1
4. หนี้สาธารณะ
1.6
34.9
34.9
28.6
0.0
5. การทุจริตคอร์รัปชั่น
1.6
6.3
25.4
63.5
3.2
6. เศรษฐกิจโลกตกต่ำ
4.8
54.0
33.3
6.3
1.6
7. ฟองสบู่ในภาคอสังหาริมทรัพย์
3.1
54.0
38.1
4.8
0.0
8. การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
15.9
41.3
30.2
9.5
3.1
9. อื่นๆ คือ (1) เศรษฐกิจในประเทศและเอเชีย     (2) การผันผวนของค่าเงินบาท    (3) การกระจายรายได้
              (4) การกู้เงินของรัฐบาลมาลงทุนในโครงการที่ไม่คุ้มค่า
              (5) การปรับตัวของ SMEs ในการเปิด AEC      (6) โครงการรับจำนำข้าว
              (7) ความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
 
 
             2. ข้อเสนอแนะในการบริหารเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีที่เหลือของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์

อันดับ 1
ขอให้เลิกและปรับเปลี่ยนการดำเนินโครงการประชานิยมต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรับ
จำนำข้าว เช่น การกำหนดวงเงินที่ชัดเจนในแต่ละปีการผลิต และควรเป็นระบบที่อิงกับ
ราคาตลาด มีการจัดทำโซนนิ่งพื้นที่การผลิตที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพ
การผลิตไปพร้อมๆกัน
อันดับ 2
เร่งรัดการเบิกจ่ายเงินในโครงการลงทุนต่างๆ และใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
คุ้มค่ากับการลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการ Mega projects
อันดับ 3
จริงจังกับการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ดำเนินโครงการต่างๆ ด้วยความโปร่งใส
สามารถตรวจสอบได้
อันดับ 4
ให้ความสำคัญกับการดูแลและบริหารหนี้สาธารณะอย่างใกล้ชิด
อันดับ 5
อื่นๆ คือ รัฐมนตรีต้องเก่งมีความรู้มีความสามารถ/สร้างความแข็งแกร่งให้ภาคธุรกิจและ
ภาคเกษตรกรรม/เตรียมความพร้อมสำหรับการเข้าสู่ AEC/ ควรลดปัญหาและประเด็น
ทางการเมือง
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความรุนแรงของประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น
                  2. เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการบริหารเศรษฐกิจในช่วง 2 ปีข้างหน้า
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์
               วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 31 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงาน
               คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจ
               อุตสาหกรรม   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
               ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
               ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารทหารไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ธนาคารธนชาต
               บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน  บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน  
               บริษัทหลักทรัพย์  จัดการกองทุนกรุงไทย   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฟินันซ่า   คณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยทักษิณ    ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 
               สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะวิทยาการ
               จัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร  
               สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ  คณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยรามคำแหง   และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  11 - 18 มิถุนายน 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 มิถุนายน 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
27
42.9
             หน่วยงานภาคเอกชน
22
34.9
             สถาบันการศึกษา
14
22.2
รวม
63
100.0
เพศ:    
             ชาย
31
49.2
             หญิง
32
50.8
รวม
63
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
23
36.5
             36 – 45 ปี
19
30.2
             46 ปีขึ้นไป
21
33.3
รวม
63
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
6.4
             ปริญญาโท
46
73.0
             ปริญญาเอก
13
20.6
รวม
63
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
10
15.9
             6 - 10 ปี
16
25.4
             11 - 15 ปี
10
15.9
             16 - 20 ปี
9
14.3
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
18
28.5
รวม
63
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776